รางแอร์ หรือ รางครอบท่อแอร์ มีประโยชน์ยังไง?

วันนี้แอดมินนั่งเขียนบทความตามด้วยอาการเมื่อยล้าของช่วงบ่ายๆ พอดีเหลือบมองออกไปด้านนอก โห… ฝนกำลังมาจัดหนักแน่นอน ทั้งที่เมื่อสักพักใหญ่ ๆ แดดเปรี้ยง ตามที่น้องมิลลิบอกพอดี ประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ ร้อน ร้อนมาก และร้อน…หาย ไปเลย 555 สุดท้ายแล้วแอดมินก็รีบออกไปดูว่ามีตรงไหน จะเปียกหรือต้องเก็บบ้างรึเปล่านะ บังเอิญจริง ๆ แอดมินมองไปเห็นขอบหน้าต่างที่แอดมินเคยยาแนวเองก่อนที่ฝนจะตกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพราะจำได้ว่าเวลาผ่านไปสักระยะ ยาแนวที่ทำไว้ก็เสื่อมไปตามสภาพภูมิอากาศจริง ๆ อย่างทีช่างกล่าวลอยๆ ไว้ (ตอนแรกนึกว่าพูดเล่น แอดมินก็ไม่ได้เป็นช่างก่อสร้างอ่ะนะ)
แต่… เดี๋ยวก่อน บ้านแอดมินก็อยู่มาเกือบ ๆ 5 ปีล่ะ แต่มีอยู่อย่างที่แอดมินเห็นแล้ว อะเมซซิ่ง ทำไมกาลเวลาไม่อาจจะทำร้ายเขาได้ นั่นคือรางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ ว่าแล้วโรคเก่ากำเริบอยากรู้อยากเห็นขึ้นมาทันที นั่งหาข้อมูลอยู่เป็นปี (อันนี้ก็นานเกิ๊น) ค้นหาอยู่ ประมาณ 3 ชั่วโมงกว่า ๆ  แอดมินพยายามหาข้อมูลเรื่อง รางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ แต่อะไรกันเนี้ยยยยย หายังไงก็มีแต่ข้อมูลทางเทคนิค หายังไงก็เจอแต่ข้อมูลเฉพาะทั้งนั้นเลย เช่น สินค้ามีกี่แบบ ขนาดเท่าไหร่ มีสีอะไร บลา บลา บลา โห…อะไรกัน คนทั่วไปจะอ่านเข้าใจไหมจ๊ะเนี้ยะ ว่าแล้วแอดมินจะเล่าให้ฟังจากข้อมูลอันน้อยนิด ที่แอดมินพยายามเก็บเกี่ยวมาเพื่อเป็นข้อมูลมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะ
ประวัติของรางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์

จริง ๆ แล้วหากจะบอกว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัย ครีเทเชียส เอิ่มมม… ไกลไปนะ เอาใหม่ คือแบบ รางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ จากที่แอดมินอ่านคร่าว ๆ เท่าที่เข้าใจเอง (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียวนะ ^_^) คงเริ่มต้นมาจาก อยากพัฒนาบ้านเวลาที่ต้องเดินท่อลมต่างๆ ให้เกิดความสะดวก และประหยัดอย่างเป็นระบบ (เขาเกริ่นมาแบบนี้) จึงริเริ่มจากการเดินท่อแอร์ภายในบ้านก่อนจากที่แอดมินเข้าใจคือท่อลมแอร์ (หลังยุคทศวรรษที่ 1960 ก็เริ่มมีการคิดค้นท่อลมอ่อนขึ้นมาเพื่อให้หลากหลายในการใช้งาน) และก็เดินวนไป วนมา ขึ้น ๆ ลง ๆ ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา เอ บี สตาร์ท (ไม่ใช่เล่นเกมส์คอนทร้าซิ คนอื่นรู้อายุแอดมินพอดี) เดินท่อแอร์วนไป วนมา ชิดซ้าย ชิดขวาบ้าง แล้วท่อก็มีลักษณะงอไปงอมา ขดๆ เบี้ยวๆ ไม่สวยงาม คือเดินไปแบบไหน ก็ปล่อยไปตามยถากรรมเลยประมาณนั้น และที่สำคัญพอระยะเวลาผ่านไปสักพัก ก็ชำรุดเสียหายง่าย ฉีกขาดบ้าง สัตว์กัดแทะบ้าง ซ่อมแซมจนเหนื่อยไปเลยล่ะ แอดมินเองแค่นึกภาพตามก็คงหมดอีกหลายตังค์แน่ๆ จากเดินภายในบ้านไม่พอซิ ก็ต้องเดินข้างนอกด้วย เพราะเป็นคอยล์ร้อน กับคอยล์เย็น คือ 2 ทาง ภาษาชาวบ้านง่าย ๆ คือ แยกเป็นลมร้อน กับลมเย็น

พอเดินท่อออกมาข้างนอกด้วย หนักเลยที่นี่ บ้านก็สวยดี แต่ไหงท่ออะไรย้วยๆ ห้อยๆ เต็มไปหมด ความสวยของบ้านเราเป็นอันจบสิ้นลงในทันที ในเวลาต่อมา ความสวยงาม ความทนทาน ความสะดวกสบาย และความประหยัด ก็ถูกเรียกร้องสิทธิ์จากตัวบ้านว่าไม่เท่ห์ ดูไม่หล่อ (แอดมินก็เกินไปนิด) ทำให้มีคนคิดค้นให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาในทันที นั่นคือ รางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ เพื่อมาเติมเต็มความฝันของคนรักบ้าน ของคนที่นิยมความเรียบหรูดูดี ตลอดที่ฉันอาศัยอยู่ในบ้านแห่งนี้
ปัจจุบัน มีให้เลือกหลากหลายทั้งสี และฟังก์ชั่นเลยทีเดียว ซึ่งหาข้อมูลกันได้ในเว็ปไซต์เรากันได้เลย (ได้เวลาขายของล่ะ 5555 หลังจากที่เกริ่นมาพอสมควร)
รางครอบท่อแอร์ของ UPC มีให้เลือกหลากสี
หลายคนคงอยากรู้ว่าแล้วประโยชน์นอกจากเรียบหรูดูดีแล้วมีอะไรอีก ถ้าให้แอดมินสรุปคร่าวๆ ดังนี้นะ
ประโยชน์ของการติดตั้ง รางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์
  • บ้านที่ออกมาสวยงามดูดีในสายตาของผู้พบเห็น และเป็นที่ประทับใจของเจ้าของบ้านที่ลงทุนน้อยก็สามารถตกแต่งให้บ้านดูดีจากรางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์เพียงไม่กี่บาทเท่านั้น
  • เมื่อช่างจะติดตั้ง ก็สะดวกสบาย ง่ายดาย และยังประหยัดเวลาติดตั้งไปได้อีกเนื่องจากมีฟังก์ชั่นการติดตั้งที่ง่าย หรือถ้าเจ้าของบ้านอยากจะติดตั้งบ้างก็ทำได้ง่ายได้เช่นกัน (DIY กำลังนิยมนะจ๊ะ รู้ยัง)
  • อายุการใช้งาน อย่างที่แอดมิน กล่าวไว้ข้างต้นเลย ทนทาน ยืดอายุของอุปกรณ์ เช่น ฉนวน เป็นต้น เมื่อผ่านไประยะเวลานึงถ้าไม่มีรางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ ก็อาจจะเสียหาย เปื่อยยุ้ยได้ จากสภาพภูมิอากาศ
  • รางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ สามารถปกป้องจากสัตว์กัดแทะ หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น น้อนชอบทำเล็บ (ละมุดทาสแมวจะรู้ดี) เป็นต้น
ทั้งหมดที่แอดมินกล่าวมาก็คิดว่าทุกคนที่ได้อ่านคงได้สาระ (ไม่มีสาระบ้าง) และคิดว่าบ้านไหนที่ยังไม่ติดตั้งรางแอร์ หรือรางครอบท่อแอร์ ควรจะต้องหาประดับบ้านไว้บ้างแล้วล่ะ แอดมินแนะนำสุดๆ ยิ่งถ้าซื้อกับแอดมินด้วยนะ แอดมินจะขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ทุกคนร่วมสนับสนุน ให้แอดมินมีพลังในการหาข้อมูลดีๆ และทำคอนเทนต์โดนๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับคุณลูกค้าที่เคารพรักทุกคน ท้ายนี้หากแอดมินผิดพลาดประการใด หรือมีสิ่งใดที่ผิดไปจากที่คุณลูกค้าเข้าใจอยู่แล้ว แอดมินก็ขอน้อมรับความผิดพลาดนั้น เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น กราบขออภัยมา ณ ที่นี้

ขอขอบคุณข้อมูล
duct_sealing; www.energystar.gov
duct flow; en.wikipedia.org
ACRbooklet_final; web.archive.org
airtec-lineset-ducting; www.rectorseal.com
www.inaba-denko.com
www.cctgroup.co.th