รางสายไฟ จำเป็นแค่ไหน ไม่มีได้ไหม ?


หลายวันมานี้ แอดมินต้องเผชิญฟ้าฝนตลอดเวลา พายุเข้า พระเสาร์แทรก ราหูกำลังย้าย (แหะๆ ไม่น่าจะใช่ล่ะ) จริงๆ ช่วงนี้แอดมินก็เฝ้าระวังตลอดเวลา พอฝนตกหนักๆ ทีไร สงสัยไฟฟ้าจะมีอารมณ์ค่อนข้างอ่อนไหวง๊ายง่าย ตกปั๊บ ดับปุ๊บ ยังไงล่ะเนี๊ยะ คุณค๊า แอดมินไม่เข้าใจ ค่าไฟก็แสนจะแพง ค่าผันแปรก็จะขึ้นอีก ดับกันบ่อยจริง จริ๊งงง สงสัยแอดมินจะอินเกินไปนิสส์ แต่เอาเข้าจริงๆ พอฝนตกหนักๆ ต่อเนื่องหลายๆ วัน แอดมินก็แอบกังวลเรื่องสายไฟเสมอ เดี๋ยวก็ฝน เดี๋ยวก็แดด ทำให้แอดมินเองต้องหาวิธีคลายกังวล โดยการใช้รางสายไฟ ป้องกันไปซะก็สบายใจ เรื่องนี้เชื่อแอดมินเถอะ
พอพูดเรื่องรางสายไฟ ก็เหมือนเดิมต่อมอยากรู้ อยากเห็นทำงานทันที แต่จะว่าไปแล้ว แอดมินเชื่อว่า คุณลูกค้าหลายๆ คน เมื่อแอดมินพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับ รางไฟ รางสายไฟ รางเดินสายไฟ หรือรางเก็บสายไฟ โดยมากมักจะสงสัยว่าจริงๆ แล้วมันจำเป็นต้องมีป่ะ ต้องใช้มั้ย หรือไม่ต้องก็ได้มั้ง (แหม…แปลงร่างเป็นนักวิทยาศาสตร์ขึ้นมาในทันที สงสัยกันไปหมด) ซึ่งแอดมินก็คิดว่าเข้าใจเองว่า คุณลูกค้าก็คงจะรับรู้ และเข้าใจตามสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย หรือนึกถึงกัน เพราะว่าชื่อที่แอดมินกล่าวมา แม้จะมีการเรียกชื่อในแบบต่างๆ หลากหลาย แต่แอดมินบอกได้เลยว่าไม่ว่าคุณลูกค้า หรือแอดมินจะเรียกชื่ออะไรก็ตาม แต่จุดประสงค์ของรางสายไฟ คือ การใช้รางสายไฟเพื่อเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมในสถานที่นั้น ๆ รวมไปถึงช่วยให้สายไฟอยู่เป็นที่เป็นทาง ปลอดภัย และง่ายแก่การซ่อมบำรุงรักษา ที่นี้ลองมาฟังดูว่า แอดมินจะลองสรุปคร่าว ๆ ว่ารางสายไฟแยกเป็นกี่ประเภท ใช้งานยังไง แต่ที่แน่ๆ แอดมินบอกได้คำเดียวว่า “ของมันต้องมี” เชื่อแอดมินเถ๊อะ

การแบ่งประเภทรางสายไฟ โดยแยกเป็นการใช้งานตามสถานที่ต่างๆ มีดังนี้

1. รางสายไฟภายในบ้านพักอาศัย

การใช้รางสายไฟในบ้าน ส่วนมากที่เราเห็นกันทั่วไป จะเป็นการเดินสายไฟที่ฝังอยู่ในกำแพงบ้านโดยปราศจากรางสายไฟ ทำให้เราไม่สามารถเห็นได้ เมื่อเกิดปัญหา และต้องการแก้ไข หรือซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่ยากต่อการแก้ไขปรับปรุงในแต่ละจุด จึงทำให้การเดินสายไฟตามห้องต่าง ๆ ที่จะทำให้เรายังเห็นว่านั่นคือสายไฟ คือการใช้รางสายไฟติดตั้งควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะทำให้แก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นการป้องกันสัตว์รบกวนกัดแทะสายไฟ ป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันการก่อตัวที่อาจจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ รวมไปถึงการจัดการสายไฟภายในบ้านให้แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อย สบายตาอีกด้วย

2.รางสายไฟภายในอาคารสำนักงานและคอนโด

โดยหลักๆ จุดประสงค์ของรางสายไฟนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น เรื่องการแก้ไขซ่อมแซม หรือป้องกันแล้ว ตัวของรางสายไฟในอาคารและคอนโด ยังเป็นการแบ่งเป็นรางสายไฟ สายหลักไปยังตู้ไฟหลัก และจากนั้นจะมีการแบ่งรางสายไฟย่อยไปตามห้องต่าง ๆ เพื่อเป็นการจัดระเบียบสายไฟ หากมีการซ่อมบำรุงในแต่ละห้อง ช่างไฟจะสามารถทำงานไฟในแต่ละจุดได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้

3.รางสายไฟภายในบริษัทานและคอนโด

รางสายไฟภายในบริษัทนอกจากจะเป็นรางสายไฟทั่วไปที่เหมือนกับบ้าน สำนักงานและคอนโดแล้ว หากบริษัทไหนที่มีห้อง Server เป็นของตัวเอง ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรางสายไฟสำหรับ Server ด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากเป็นการป้องกัน แก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมได้อย่างง่ายดายแล้ว เรายังสามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในบริษัทได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมี Server หลายเครื่อง บริษัทจำเป็นต้องแบ่งสายไฟและเก็บสายไฟให้ชัดเจนด้วยรางสายไฟ เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไข ปรับปรุง และดูแลรักษ

แยกประเภทต่าง ๆ ของรางสายไฟ ตามการใช้งานพอจะสรุป ได้ดังนี้

1.รางวายเวย์ (Wire Way) หรือที่เรียกว่ารางสายไฟแบบทึบ

ลักษณะของรางสายไฟแบบทึบ จะเป็นรางที่ปิดมิดชิดยาวตลอดทั้งราง ข้อดีคือการป้องกันฝุ่นละออง และไม่มีช่องให้สัตว์ฟันแทะสามารถเข้าถึงสายไฟได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็ก จุดแข็งของรางวายเวย์คือแข็งแรงและทนทานมากกว่ารางแบบพลาสติกหรือราง PVC สำหรับขนาดของรางสายไฟแบบทึบนั้น สามารถเลือกตามความเหมาะสม หรือความต้องการของการใช้งานได้เลย เพราะมีหลากหลายชนิดและหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งาน นอกจากนี้รางวายเวย์สามารถใช้เดินสายไฟทั้งภายใน และภายนอก ของบ้านทั่วไป อาคารต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเดินสายไฟในโรงงาน เราก็สามารถเลือกรางสายไฟที่กันน้ำ หรือกันฝน เพื่อป้องกันสนิมได้อีกด้วย

2.รางวายดักส์ (Wire Duct) หรือที่เรียกว่ารางสายไฟแบบโปร่ง

ลักษณะของรางสายไฟแบบโปร่ง จะมีลักษณะตรงข้ามกับรางวายเวย์อย่างชัดเจน กล่าวคือรางวายดักส์จะมีลักษณะที่โปร่งกว่า ไม่ได้ปิดมิดชิดตลอดทั้งราง เหมือนรางสายไฟแบบทึบ ผนังของรางจะมีร่องระบายอากาศหรือช่องว่างเพื่อแยกสายไฟ ส่วนใหญ่จะใช้ภายในตู้คอนโทรล หรือแผงควบคุม เหมาะในการใช้ในโรงงานหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีปริมาณสายไฟจำนวนมาก เพื่อให้มีความสะดวกในการแยกสาย สำหรับการใช้งานในหลายจุด

3.รางฟลอร์ดักส์ (Floor Duct) หรือที่เรียกว่ารางสายไฟแบบโค้ง

ลักษณะรางสายไฟแบบโค้ง จะเป็นแบบที่สามารถวางบนพื้นผิวทางเดิน เช่น วางผ่านทางเดิน หรือวางตำแหน่งที่ป้องกันการเหยียบสายไฟ ซึ่งรางสายไฟแบบนี้จะมีความโค้งเหมือนเนินลูกระนาดขนาดเล็ก ๆ สามารถเดินผ่าน หรือใช้รถเข็นที่มีน้ำหนักไม่มากทับผ่านได้เลย ส่วนมากนิยมใช้ภายในอาคาร เช่น ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ศูนย์แสดงสินค้า งานอีเว้นท์ต่าง ๆ โดยที่การติดตั้ง แสนง่ายดาย ใช้เวลาน้อย และที่สำคัญสามารถติดตั้งได้บนทุกพื้นผิวตามที่เราต้องการ

เทคนิคการเลือกรางสายไฟให้เหมาะสม และใช้งานได้ยาวนาน

  1. ควรเลือกรางสายไฟโดยพิจารณาจากสภาพการใช้งาน โดยคำนึงถึงชนิดของสายไฟ เช่น สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่นำไปใช้งาน เช่น ในอาคาร นอกอาคาร เจอความร้อนจัด เจอความเย็นจัด เจอน้ำ เจอน้ำมัน หรือเสี่ยงต่อสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น สัตว์ฟันแทะ อยู่ใกล้เด็ก เป็นต้น
  2. ควรเลือกรางสายไฟโดยพิจารณาจากวัสดุ เช่น หากต้องวางรางสายไฟในพื้นที่ หรือตำแหน่งที่ไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้ ก็ควรใช้รางสายไฟที่ทำจาก PVC หรือต้องการรางสายไฟที่แข็งแรงทนทาน ทุกสภาวะ เราก็ควรเลือกรางสายไฟที่ทำจากเหล็ก เป็นต้น
  3. ควรเลือกติดตั้งรางสายไฟในบริเวณที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือบริเวณที่มีการใช้ที่มีความอันตรายต่อรางสายไฟ โดยพิจารณาจากการเข้าตรวจสอบต้องสามารถทำได้ง่าย แทนพื้นที่หรือบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก หรือมีสิ่งของกีดขวางการเข้าถึง ทำให้ยากต่อการแก้ไขปรับปรุง และดูแลรักษา
  4. ควรเลือกรางสายไฟจากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานในการผลิต มีคุณภาพ และรับรองจากองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ของดี มีคุณภาพสำหรับงานใช้งาน (คุณลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ที่ ยู การผลิต กันได้เลยนะ แอดมินรออยู่ อิอิ)

ชนิดรางสายไฟ PVC ของ UPC มี 6 ชนิด ได้แก่

1. รางวายดักส์

  •   รางวายดักส์ของ UPC เราออกแบบให้ผนังของรางมีร่องเพื่อความสะดวกในการเดินสายไฟเหมาะกับการใช้งานในตู้คอนโทรลต่างๆ
  • ตัวรางสายไฟจะมีรูสำหรับยึดติดผนังสามารถปรับระดับได้สะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น
  • รางสายไฟผลิตจากพลาสติก PVC เกรด A มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักสายไฟที่นำมาติดตั้งได้ดี
  • ทนทานต่อสภาวะอากาศ และสิ่งแวดล้อมปกติ
  •   มีสีขาวกับสีเทาให้เลือกสำหรับการใช้งาน

2. รางวายเวย์

  •  ผลิตจากพีวีซี ซึ่งมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน ไม่เปราะหักง่าย เป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้
  • ด้วยลักษณะรางแบบปิดทึบ จึงช่วยเก็บสายไฟให้ปลอดภัยจากความเปียกชื้นและพ้นมือเด็ก
  •  รูปทรงรางแบบเหลี่ยม ช่วยเพิ่มความเรียบร้อยสวยงามให้กับสถานที่ และติดตั้งเข้ากับทุกมุมได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • เหมาะสำหรับติดตั้งใช้งานภายในบ้าน อาคาร สำนักงาน หรือสถานที่อื่นๆเพื่อจัดเก็บสายไฟให้เข้าที่ ไม่เกะกะและดูสวยงาม

3. รางแบบโค้ง

  • เลือกใช้วัสดุ PVC เกรดเอ ไม่ลามไฟ มาพร้อมเทปกาวติดผนังอย่างดี ติดตั้งได้ง่าย
  • วัสดุผิวเรียบ ขอบโค้ง เหมาะกับการวางพื้นผิว ทางเดินสำหรับเก็บสาย
  • ตัวรางเป็นแบบฝาล๊อค ง่ายต่อการติดตั้ง
  • อายุการใช้งานยาวนาน 15-20 ปี
  • เหมาะกับงานภายในอาคาร

4. รางทรังกิ้งร้อยสาย

  • ผลิตจากวัสดุ PVC เกรด A เป็นฉนวนไฟฟ้า ไม่ลามไฟ
  • ช่วยถนอมสายไฟให้ใช้ได้นาน และป้องกันการชำรุด
  • ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ทนต่อแสงแดด รังสียูวี
  • ช่วยเก็บสาย หรือซ่อนสายไฟให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
  • รองรับน้ำหนักได้ดี ติดตั้งได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน

5. รางร้อยสายไฟฟ้า

  • วัสดุผลิตจาก PVC คุณภาพดี แข็งแรง ไม่นำไฟฟ้า ใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  • รางแบบเหลี่ยม เหมาะสำหรับการเก็บสายเข้ามุม ขอบ หรือเหลี่ยมเสาภายในห้องได้ดี
  • ตัวรางเป็นแบบฝาล็อก สะดวกต่อการติดตั้งใช้งานและบำรุงรักษา

6. รางร้อยสายโทรศัพท์

  • วัสดุผลิตจากพลาสติก PVC ทนทานไม่เปราะ หรือแตกหักง่าย
  • วัสดุผิวเรียบ ขอบมุมโค้ง ไม่บาดเฉือน ไม่ทำให้เกิดอันตราย
  • ช่วยป้องกันสายไฟฟ้า หรือสายโทรศัพท์ขาดจากการเดินลอย
สุดท้ายนี้ แอดมินต้องขอขอบพระคุณคุณลูกค้าที่น่ารัก ที่คอยสนับสนุน อุดหนุนสินค้าดีๆ ของยู การผลิต (UPC) อย่างต่อเนื่องเสมอมา และแอดมินจะตั้งใจหาคอนเทนต์ดีๆ ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สามารถทำให้คุณลูกค้าแอดมิน เกิดยอดขายปังๆ แอดมินคงจะมีพลังในการนำเสนออย่างต่อเนื่อง ครั้งหน้ามาติดตามกันต่อ ว่าแอดมินจะมีคอนเทนต์อะไรดีๆ มาฝากคุณลูกค้าอีกนะจ๊ะ และแอดมินก็ขอให้คุณลูกค้าทุกท่านในช่วงหน้าฝนนี้ ไม่เจ็บ ไม่ป่วย และไม่จน กันทุกคนน๊า บ๊าย บาย


ขอบคุณข้อมูล